วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเกษตรสมบูรณ์

หัวข้อเค้าโครงงาน
1.ชื่อโครงงาน
เเหล่งท่งเที่ยวอำเภอเกษตรสมบูรณ์
2.ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.นายศรัณยู  วงษ์ชาลี
2.นายสุริยา  พิลาจันทร์
3.นายสุรศักดิ์  ขวัญสันเทียะ
4.นายสมมาส  ศรีมงคล
5.นายวีระพล  จำรูญจิตร
6.นายนพชาติ  คะเเมสันเทียะ
7.นายสุชล  หมายถมกลาง
8.นายเฉลิมพงค์  มีพัฒน์
3.ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์วิศาล  ฉายากุล
4.ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มามาจากสถานที่ที่เที่ยวจังหวัดชัยภูมิความสำคัญเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะ
5.วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อหวังว่าจะได้รับคะแนนจากอาจารย์
6.สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ไม่มี
7.วิธีการดำเนินงาน
ศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตและหนังสือต่างต่างที่พอจะศึกษาได้

8.แผนการปฏิบัติงาน




 เดือน

 สัปดาห์ที่1

พฤศจิกายน
 หาข้อมูล
หาข้อมูล
หาข้อมูล
หาข้อมูล

ธันวาคม
หาข้อมูล
หาข้อมูล
หาข้อมูล
หาข้อมูล

มกราคม
 ปฎิบัติ

กุมภาพันธ์





ประวัติอำเภอเกษตรสมบูรณ์



จากหลักฐานที่พบบนหลักศิลาจารึกที่มีการค้นพบ จำนวน 2 หลัก
(ปัจจุบันหลักศิลาจารึกได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งาติจังหวัดนครราชสีมา)
และได้รับการพิสูจน์โดยกรมศิลปากรแล้ว พบว่าหมู่บ้าน/ชุมชนหลายแห่ง
ในพื้นที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งหลักแหล่งมาแต่โบราณ
จากการสืบค้นพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยทวาราวดีหรือเมื่อประมาณ พ.ศ.1800
และในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ บริเวณนี้ถูกเรียกขานว่า "เมืองยาง"
มีผู้คนอยู่อาศัยตั้งหลักแหล่งมีวัฒนธรรมพื้นบ้านและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยต้นกรุงรัตโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงโปรดฯ ให้หลวงไกรสิงหนาท มาตั้งเมืองหน้าด่านที่เมืองยาง
ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ต่อมาหลวงไกรสิงหนาทได้รับพระพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นพระไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมืองคนแรก เจ้าเมืองท่านนี้ไม่มีบุตร
เมื่อเข้าสู่วัยชรา ได้ตั้งนายฦาชา เป็นบุตรบุญธรรม และได้เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมา

เมืองนี้ได้เจริญขึ้นโดยลำดับ มีการสร้างวัดวาอารามเพิ่มขึ้นหลายแห่ง
มีการค้นพบซากปรักหักพังของพระธาตุเจดีย์ 3 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอ
เรียกว่า "ธาตุท่าเลิง" ปัจจุบันเป็นเขตธรณีสงฆ์ ในสมัยโบราณ
บริเวณเมืองยางหรืออำเภอเกษตรสมบูรณ์ในปัจจุบัน เคยเป็นชุมชนทางผ่านอีกเส้นทางหนึ่ง
ที่ติดต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับกรุงเวียงจันทร์
ขบวนส่งส่วยหรือกองทัพมักพักค้างแรมบริเวณนี้ มีหลักฐานร่องรอยการตั้งทัพ
หรือการหยุดพักปรากฏบริเวณที่ชาวบ้านเรียก "ท่าหลวง" ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2452 พระยาจ่าแสง ได้มาตรวจราชการที่เมืองผักปังหรือเมืองภูเขียว
เห็นว่าเมืองภูเขียวกับเมืองยางตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก จึงได้ยุบเมืองยางไปขึ้นการปกครองกับเมืองภูเขียว
ต่อมาได้จัดตั้งเป็น "กิ่งอำเภอบ้านยาง" มีขุนราษฎร์ (กอง บุนนาค)
เป็นปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งคนแรก ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ 1 มีนาคม 2481
ชื่อ "อำเภอเกษตรสมบูรณ์" มีขุนนิกรนันทกิจ(อ๊าต วัฒนสุข) เป็นนายอำเภอคนแรก

จนถึงปัจจุบันมีนายอำเภอดำรงตำแหน่งสืบต่อกันมาทั้งสิ้น 28 คน
นายวัลลพ เรืองพรเจริญ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเกษตรสมบูรณ์คนปัจจุบัน


อำเภอเกษตรสมบูรณ์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดตามทางหลวงแผ่นดิน
สายชัยภูมิ - แก้งคร้อ - ภูเขียว - เกษตรสมบูรณ์ ระยะทางประมาณ 102 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
หรืออาจใช้อีกเส้นทางหนึ่งได้ตามทางหลวงแผ่นดินสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง - เกษตรสมบูรณ์
ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 ชั่วโมงเศษทางรถยนต์ ห่างจากกรุงเทพฯ
ประมาณ 432 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ จด อ . คอนสาร อ . ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันออก จด อ . ภูเขียว อ . เแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ทิศใต้ จด อ . เมือง อ . หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และเทือกเขาภูแลนคา
ทิศตะวันตก จด อ . หนองบัวแดง จังหวัด ชัยภูมิ และเทือกเขาภูเขียว
ขนาดพื้นที่ 1,448.15 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 905,095 ไร่
สภาพภูมิประเทศ
ตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินมีลำน้ำสายสำคัญได้แก่
" ลำน้ำพรม " ไหลผ่าน ลำน้ำสายนี้ถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชาวชัยภูมิตอนบนเกือบทุกอำเภอ
และเป็นลำน้ำสาขาของน้ำพอง พื้นที่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกข้าว
ตอนเหนือของพื้นที่อำเภอเป็นที่ราบสลับเนิน เหมาะแก่การปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์
ทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก
มีเทือกเขาภูเขียวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ (International Wetland)
ตามสนธิสัญญาแรมซาร์ สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันสลับเทือกเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะ " ภูคิ้ง " เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด มีความสูงประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล
พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ( ทุ่งกะมัง )
สำหรับด้านทิศใต้เป็นเขตภูเขาภูแลนคามียอด " ภูคิ้ง " เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด
โดยมีความสูงประมาณ 996 เมตรจากระดับน้ำทะเล และบางส่วนเป็นที่ตั้ง
ของอุทยานแห่งชาติตาดโตน สภาพดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย
สภาพดินทิศตะวันออกจะเป็นดินปนกรวดและดินลูกรัง คุณภาพดินไม่สู้ดีนัก
ยกเว้นบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางและบริเวณใกล้ลำน้ำพรม

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเหมือนลักษณะภูมิอากาศอีสาน แบ่งได้ 3 ฤดู
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ มีนาคม - พฤษภาคม ของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ มิถุนายน - ตุลาคม ของทุกปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 106 นิ้ว/ปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 15 องศาเซลเซียส

สภาพสังคม
ชุมชนของอำเภอเกษตรสมบูรณ์เป็นสังคมชนบทส่วนใหญ่ เป็นชุมชนดั้งเดิม
เกือบทุกหมู่บ้านตั้งมาอย่างน้อย 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ตั้งมามากกว่า 100 ปี
หรือบางหมู่บ้านมีประวัติการตั้งหมู่บ้านมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เช่น บ้านกำแพงบ้านเมืองเก่าเป็นต้นการเป็นชุมชนดั้งเดิมทำให้ชาวเกษตรสมบูรณ
์อยู่กันด้วยความสงบไม่ค่อยมีปัญหาความขัดแย้งทางสังคมที่รุนแรงมากนัก

การประกอบอาชีพและรายได้

อาชีพเกษตรกรรม
ประมาณ 20,675 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนครัวเรือน
อาชีพรับราชการ ลูกจ้างของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ประมาณ 1,209 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของจำนวนครัวเรือน
อาชีพพาณิชย์
ประมาณ 650 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.76 ของจำนวนครัวเรือน
อาชีพรับจ้าง
ประมาณ 1,400 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.59 ของจำนวนครัวเรือน



สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเกษตรสมบูรณ์


ตั้งอยู่ที่บ้านโนนหนองไฮ ตำบลโนนทอง บนยอดเขาเขียว มีความสูง 1,167 เมตร จากระดับน้ำทะเล สูงเป็นอันดับ 5 ของภาคอีสาน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตวืป่าภูเขียว มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นแหล่งกำเนิดของดอกไม้ป่าและกล้วยไม้นานาชาติ ทิศเหนือเป็นหน้าผาสูงชันสามารถมองเห็นทัศนียภาพของภูกระดึง ภูแลนคา เขื่อนห้วยกุ่ม และลำน้ำพรม  แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูคิ้ง ได้แก่
แหลหินเงิบ  เป็นหินขนาดใหญ่ซ้อนทับกันคล้ายหินเพิงหมาแหงนบนลานหิน ห่างจากยอดภูคิ้งไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบจะพบหม้อข้าวหม้อแกงลิง
แหลหินจ้อง ห่างจากแหลหินเงิบไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร จะพบกับแท่งหินมหึมาขนาด 20 ตัน โดยมีจุดรับน้ำหนักเป็นก้อนหินขนาดเท่ากำปั้นเท่านั้น
น้ำตกห้วยใหญ่  ห่างจากยอดภูคิ้งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นธารน้ำธรรมชาติไหลผ่านโขดหินกลายเป็นน้ำตก มีความยาวประมาณ 500 เมตร
การเดินทาง  ห่างจากอำเภอเกษตรสมบูรณ์ประมาณ 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางเกษตรสมบูรณ์โนนทอง ทางขึ้นภูคิ้งอยู่ที่บ้านโนนหนองไฮ ตำบลโนนทอง นักท่องเที่ยว
สามารถสอบถามข้อมูล การบริการมัคคุเทศก์นำทาง และที่พักแบบโฮมสเตย์ได้ที่ที่ว่าการอำเภอเกษตรสมบูรณ์ โทร. 0 4486 9115 หรือองค์การบริหารส่วนตำบลโนนทอง โทร. 0 4482 2926




ภูคิ้ง (Phuking) … การผจญภัยบนทุ่งหญ้าระบัด ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ  มาในครั้งนี้มีสมาชิกแอดมากันจากทั่วประเทศอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เรียกได้ว่าต้องเบียดกันไปเลยทีเดียว บางคนมาโบกเอาตอน 2 ทุ่มแถวๆ พระราม 3 นี่เอง
ภู คิ้ง สุดยอดของการเดินป่าระยะปานกลางที่มีอุปสรรคครบเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การเดินป่าตากฝน ผจญฝูงแมลงโดยเฉพาะฝูงผึ้งและตัวริ้นช้าง การปีนป่าย การเดินเท้าผ่านภูมิประเทศที่มีหลายลักษณะแปลกตา ซึ่งมีหลายคนเคยเปรยไว้ว่า 4 ภูกระดึงเป็น 1 ภูคิ้ง นั่นก็อาจจะกล่าวไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ



พระธาตุกุดจอก
ตั้งอยู่ที่ บ้านยางน้อย หมู่ที่  2 ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 
จังหวัดชัยภูมิ
            ตามหลักฐานปรากฏในพงศาวดารลาวว่า ประมาณปีพุทธศักราช  1578  ก่อนที่ชนชาติขอมจะมามีอำนาจ  อาณาจักรล้านช้างได้แผ่ขยายอำนาจ มาปกครองพื้นที่ภาคอีสานจนถึงเขตเมืองละโว้  (ปัจจุบัน คือ เมืองลพบุรี) ชาวอาณาจักรล้านช้าง ได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีมาเผยแพร่  และประดิษฐานไว้ จะเห็น จากการก่อสร้างองค์พระธาตุกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในท้องที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์
                พระธาตุกุดจอก  เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และสำคัญต่อ    ชาวอำเภอเกษตรสมบูรณ์ เป็นอย่างยิ่ง  มีอายุประมาณ  1,200  ปี   แต่เดิมมีองค์พระธาตุอยู่  3 องค์  คือ  องค์แรกมีความสูงประมาณ  15 เมตร  มีลักษณะคล้ายสถูป  บนยอดพระธาตุมีเศียรพญานาค  8 เศียร อยู่รอบทั้งแปดทิศ  ปัจจุบันชำรุดพังลงเหลือเพียงเศียรเดียวและมีพระพุทธรูปปางถวายเนตร  ประทับยืนทอดพระเนตรไปข้างหน้า  ด้วยพระอาการสำรวม  พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาด้านหน้าพระเพลาโดยพระหัตถ์ขวาซ้อนพระหัตถ์ซ้ายประดิษฐานอยู่ด้านใน สำหรับองค์ที่สองนั้นได้พังลงเหลือเพียงครึ่งเดียว  และองค์ที่สามซึ่ง ตั้งอยู่ด้านหลังองค์ใหญ่ได้ถูกพวกมิจฉาชีพขุดและทำลาย เพื่อค้นหาพระหรือวัตถุโบราณ



พระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร สูง 3.50 เมตร
สันนิษฐานว่าสร้างด้วยอิฐโบกปูนประดิษฐานอยู่บนแท่นก่อด้วยอิฐ ประมาณปี 2501 ชาว
บ้านได้สร้างศาลาเป้นที่ประดิษฐาน และได้บูรณะซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปขึ้นใหม่หลาย
แห่งเช่น เศียร พระกรรณด้านขวา และพระหัตด้านซ้าย องค์พระพุทะรูปทาสีทอง ซึ่งแต่เดิม
เป็นสีดำ บริเวณทางทิศเหนือมีพระธาตุก่อด้วยอิฐขนาดกว้าง 3.30 เมตร หนา 3.50 เมตร
สูงประมาณ 4 เมตร ภายในกลวงมีขนาดกว้าง 1.80 เมตร ลึก 1.70 เมตร มีทางเข้าทาง
ทิศตะวันออกกว้าง 0.60 เมตร ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมมากองค์พระธาตุพังทลายเหลือ
ประมาณครึ่งหนึ่ง


ภูกุ้มข้าวเป้นภูเขาขนาดไม่ใหญ่โตนัก มีความสูงประมาณ 405 เมตร จากระดับน้ำทะเล
มีลักษณะคล้ายฟ่อนข้าวที่ชาวนานำมากองรวมกันไว้เพื่อเตรียมไว้นวดเป็นข้าวเปลือก
(ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า กุ้มข้าว ) บนยอดเขามีพระพุทธรูปจำนวนมากมีแท่งไม้แกะสลัก
คล้ายศิลปะลาว ที่บริเวณยอดเขามีหลุมขนาดเส้นฝ่านศูน์กลาง 5 เมตร ลึกประมาณ 2
เมตร มีตำนานเล่าว่าสมัยเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ คิดขบฏต่อกรุงเทพฯ หมู่บ้านค่าง ๆ เขต
พื้นที่แถบนั้น (อ.เกษตรสมบูรณ์ปัจจุบัน) เกิดไม่ไว้วางใจในสถานการณ์บ้านเมือง
ราษฎรจึงได้พร้อมใจกันนำพระพุทะรูปต่าง ๆ จากพระธาตุกุดจอกขึ้นมาซุกซ่อนไว้ที่
ยอดภูกุ้มข้าว และถึงเดือนห้าของทุกปี ชาวบ้านจะขึ้นไปร่วมกันทำบุญ สืบทอดถึง
ปัจจุบัน เรียกว่า สงกรานต์ภูกุ้มข้าว



พระกระไกรสิงหนาท
ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) เมืองเกษตรสมบูรณ์
มีเจ้าเมืองปกครองชื่อหลวงไกรสิงหนาท ครั้นต่อมามีความดีความชอบได้รับเลื่อนชั้น
บรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น กระไกรสิงหนาท (คนที่ 1) ท่านไม่มีบุตรสืบสกุลจึงได้ทำใบบอก
(รายงาน) ไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ขอแต่งตั้งนายฦๅชา ผู้เป็นหลานขึ้นเป็นเจ้าเมือง
เกษตรสมบูรณ์แทนได้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาท และต่อมาได้เลื่อนบรรดา
ศักดิ์เป็น พระไกรสิงหนาท (คนที่ 2) ท่านมีบุตรชายสามคนคือ นายบุญมา นายบุญคง
และนายบุญจันทร์ และต่อมาท่านได้ทำรายงานไปกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อขอแต่งตั้ง
นายบุญมา บุตรชายคนที่ 1 ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์แทน ได้รับบรรดาศํกดิ์
เป็นพระไกรสิงหนาท (คนที่ 3) ส่วนบิดาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภักดีฦาชัย
จางวาง พระไกรสิงหนาทคนที่ 3 มีบุตรธิดา หลายคน เท่าทีทราบคือ นายเลิศ นายนรนิล
นางคำใส นางวันทอง นายบุญ ร้อยเอกหลวงสมาไกรวิชิต ต่อมาท่านได้ป่วยและถึงแก่
อสัญกรรมด้วยโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงที่กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างเดินทางไปเข้าเฝ้า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2440) และ พ.ศ. 2460 ทางราชการ
ประกาศให้มีการใช้นามสกุล นายเลิศบุตรชายพระไกรสิงหนาท (คนที่ 3) ได้ขอ
พระราชทานใช้นามสกุล ฦๅชา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระไกรสิงหนาทคนที่ 2 และ
ลูกหลานได้ใช้นามสกุล ฦๅชา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


วีดีโอการท่องเที่ยวที่ภูคิ้งของอำเภอเกษตรสมบูรณ์














ผลิตภัณฑ์ OTOP












แผนที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์

 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น